วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติรัฐธรรมนูญ

ประวัติวันรัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวรเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
 การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา 700 ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลัก ในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ อิทธิพลจาตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎร
                จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฎิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ
 วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ  พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร  ศาล
                ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระ มหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆจะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระ บรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
                กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็ มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้  

                อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 25 ฉบับ แต่ถ้านับเฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง 18 ฉบับดังนี้

ฉบับที่ 1. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2427 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน

ฉบับที่ 2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน

ฉบับที่ 3. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน

ฉบับที่ 4. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน

ฉบับที่ 5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน

ฉบับที่ 6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ประกาศและบังคับใช้ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 รวมอายุและประกาศบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน

ฉบับที่ 7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 20 วัน

ฉบับที่ 8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 3 ปี 4 เดือน 20 วัน

ฉบับที่ 9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 9 เดือน 22 วัน

ฉบับที่ 10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี
 
ฉบับที่ 11. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี
 
ฉบับที่ 12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 13 วัน
 
ฉบับที่ 13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528)
 
ฉบับที่ 14. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
 
ฉบับที่ 15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
 
ฉบับที่ 16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
 
ฉบับที่ 17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว)
 
 ฉบับที่ 18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)


รายละเอียดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
 อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปหล่อลอยตัว ประกอบด้วยรูปเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบ มีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ย ๆ กั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอก ฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมา เป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน
ครีบ 4 ด้าน สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
 พานรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยนั้น และหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ)
ปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ. 2475) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ
 ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง 4 เน้นถึงเรื่องราวการดำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกันก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
พระขรรค์ 6 เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร


                             รายละเอียดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
 ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาล เป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการประกาศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครอง ประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความ คิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษ ในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง
               ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางใน การปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม
                เมื่อ จัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติ ปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบ ให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน
                  จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป
 ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพร แก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการเทอญ

คำพิพากษาคดีปราสาทเขาพระวิหาร

คำพิพากษาปราสาทพระวิหารปี 2556
         เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลโลกอ่านคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่ากัมพูชาได้ยื่นคำร้อง และร้องขอให้ศาลตีความปราสาทพระวิหาร และหลังจากยื่นคำร้องแล้ว กัมพูชาได้อ้างถึงคำร้องธรรมนูญศาล และร้องขอให้มีมาตรการชั่วคราว เพราะมีการล่วงล้ำของประเทศไทยเข้าสู่ดินแดนกัมพูชา โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ศาลก็มีมาตรการชั่วคราวให้แก่ทั้งสองฝ่ายในปี 2011 โดยจะขอเริ่มต้นอ่านคำพิพากษาในวรรคที่ 14 ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเทือกเขาดงรัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพรมแดนสองประเทศคือ กัมพูชาตอนใต้ และไทยตอนเหนือ ในเดือน ก.พ.1904 กัมพูชาอยู่ใต้อารักขาของรัฐฝรั่งเศส ที่เทือกเขาดงรักเป็นไปตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นไปตามการประกาศของคณะกรรมการ เรื่องงานที่เสร็จสิ้่นคือ การเตรียมการและตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่ที่ได้รับ ซึ่งภารกิจนั้นมอบให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 4 นาย ต่อมาในปี 1907 ทีมก็ได้เตรียมแผนที่ 17 ระหว่าง อินโดจีนกับไทย และมีแผนที่ขึ้นมา มีคณะกรรมการปักปันระหว่างอินโดจีนกับสยาม ทำให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ปี 1953 ประเทศไทยได้ยึดครองปราสาทในปี 1954 แต่การเจราจาไม่เป็นผล ปี 1959 กัมพูชาร้องต่อศาล และไทยก็คัดค้านตามมา และศาลปฏิเสธการรับฟังของไทย และมีคำพิพาทเกิดขึ้นจริง ซึ่งเทือกเขาดงรักที่เรียกว่า แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น อยู่ในกัมพูชา โดยมีผลบังคับระหว่างรัฐประเทศตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง แต่ในแง่การมีผลผูกพันเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศต้องยืนยันตามสันปันน้ำ ศาลพูดถึงข้อปฏิบัติการในคำพิพากษา ตัดสินว่า พระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยมีผลผูกพัน หรือในบริเวณข้างเคียง และมีพันธะกรณีที่ต้องนำวัตถุทั้งหลายที่ได้นำออกไปให้นำส่งคืน หลังจากมีคำพิพากษา 1962 ไทยก็ได้ถอนกำลังออกจากพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนาม หลังจากที่เป็นไปตามมติครม.ของไทยในวันที่ 11 ก.ค.1962 แต่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ ศาลระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาหลังจากที่คำพิพากษา เป็นต้นมา ในมุมมองของไทยคือ ได้ออกจากบริเวณปราสาทและไทยได้กำหนดฝ่ายเดียวว่า เขตพระวิหารอยู่ที่ใดซึ่งตามคำพิพากษาในปี 1962 ได้กำหนดตำแหน่งเขตปราสาท ที่ไทยต้องถอนและได้จัดทำรั้ว ลวดหนาม ปราสาทไม่ได้เกินไปกว่าเส้นกำหนดตาม กัมพูชาประท้วงว่า ไทยถอนกำลังออกไปนั้นก็ได้ยอมรับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาจริง แต่กัมพูชาได้ร้องว่า ไทยสร้างรั้วรุกไปในดินแดนกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลและในมุม มองของกัมพูชาต้องการเสนอยูเนสโก แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองมีข้อพิพาทในความหมายและขอบเขตในคำพิพากษาปี 1962 จริง ศาลได้ดูสาระข้อพิพาทเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นไปตามขอบเขตอำนาจศาล ม.60 ตามธรรมนูญศาลหรือไม่และเห็นว่าสองฝ่ายขัดแย้งกัน ซึ่งในข้อพิพาท 1962 ที่บอกว่า คำพิพากษามีผลบังคับใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศ การพิจารณาครั้งนี้ศาลพิจารณาในจุดยืนของฝ่ายที่แสดงออกมาคือ ตามคำขอของกัมพูชา คือ มีสถานที่และได้ต่อสู้เพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็มีมุมมองต่างกันของขอบเขต และบริเวณ ดินแดน
โดยข้อที่ 1 ปราสาทอยู่ในดินแดนกัมพูชา ท้ายที่สุดศาลก็ได้ดูเรื่องปัญหาที่สองฝ่ายเห็นต่างคือ พันธกรณีการถอนกำลังออกจากปราสาท ในดินแดนของกัมพูชา และให้ข้อพิพากษาเรื่องการสื่อสารการเข้าใจของสองประเทศในการนำปราสาทพระ วิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการปะทะแสดงว่า มีความเข้าใจที่แตกต่างกันจริง คำพิพากษามีความสำคัญ 3 แง่ คือ คำพิพากษาไม่ได้ตัดสินว่า มีข้อผูกพันเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่ 2.มีความสัมพันธ์กรณีความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณใดเป็นของกัมพูชา 3.มีข้อพิพาทในกรณีให้ไทยถอนกำลัง คือ เป็นเป็นไปตามข้อปฏิบัติข้อที่สอง เมื่อกัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องขอของกัมพูชา ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของทั้งสองฝ่าย ตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีอำนาจรับไว้พิจารณา ศาลจึงคำนึงถึงข้อ 60 ทำให้ขอบเขตมีความชัดเจนขึ้น ด้วยเหตุนี้ศาลจึงต้องดูอยู่ภายใต้ขอบเขตเคร่งครัด ไม่สามารถหยิบเรื่องที่ได้ข้อยุติไปแล้ว ดังนั้น การพิจารณาขอบเขตและความหมายจึงยึดถือข้อปฏิบัติที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้ต่อสู้ว่า หลักการกฎหมายห้ามไม่ให้ศาลตีความเกินการตีความในปี 1962 และได้ถูกกล่าวย้ำในข้อต่อสู้ของคู่ความ อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถตีความที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 1962 ได้ และกัมพูชาเห็นว่า ข้อสรุปในปี 1962 ทำให้เห็นวา ศาลได้วินิจฉัยประเด็นต่างๆ ตามข้อวินิจฉัยในปี 1962 และขณะนั้นได้ใช้ข้อ 74 เป็นข้อบังคับในขณะนั้น ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา และบทสรุปเป็นเพียงบทสรุปของคำวินิจฉัย ไม่ถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อหลักปฏิบัติ
        ประเทศไทยยังได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของปี 1962 และเดือน ธ.ค. 2008 ที่มีเหตุการณ์ปะทุขึ้นมา คำพิพากษาไม่ถือว่า เป็นสนธิสัญญา หรือตราสารที่ผูกพันคู่ความ การตีความที่อาจจะมีผลกระทบกับพฤติกรรมต่อๆ ไป ดูได้จากสนธิสัญญา ณ กรุงเวียนนา การตีความ จะดูว่าศาลได้พิพากษาอะไร ขอบเขตและความหมายไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมของคู่ความ และการตีความศาลจะไม่พิจารณาในประเด็นนั้น มีลักษณะ 3 ประการในคำพิพากษา 1962
       1.พิจารณาว่า เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร และศาลไม่มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 โดยดูในคำคัดค้าน ว่า เป็นเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเขตแดน ดังนั้น ข้อเรียกร้อง 1-2 ของกัมพูชาในภาคผนวก 1 ศาลจะรับเท่าที่เป็นเหตุ โดยไม่มีการกล่าวถึงภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ไม่มีการแนบแผนที่ในคำพิพากษา ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างก็มีความสำคัญในการกำหนดเขตแดน
       2.แผนที่ภาคผนวก 1 ประเด็นที่แท้จริงคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และ เส้นแบ่งเขตแดน ที่เป็นผลจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเสด็จของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงนุภาพ ไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารก็เหมือนการยอมรับโดยอ้อมของสยามในอธิปไตย ถือเป็นการยืนยันของประเทศไทยในเส้นแบ่งแดนภาคผนวก 1 ในปี 1908 และ 1909 ยอมรับในแผนที่ และยอมรับว่า เส้นแบ่งเขตแดนเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การยอมรับว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา ทำให้แผนที่ภาคผนวกอยู่ในสนธิสัญญา จึงเห็นว่าการตีความสนธิสัญญาจึงต้องชี้ขาดว่า เขตแบ่งตามแผนที่ 1
       3.ศาลมีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณปราสาทฯ เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เล็กมาก และในปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า ขอบเขตพิพาทนั้นเล็กมาก และถ้อยแถลงอื่นๆ ก็ไม่มีอะไรขัดแย้งกันในปี 1962 และทันทีหลังจากมีคำพิพากษา ศาลได้อธิบายว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ในทางทั่วไปถือว่า เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ศาลเห็นว่า ปราสาทอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา แต่ต้องกลับมาในบทปฏิบัติการ 2 และ 3 ที่เห็นว่า ผลของคำพิพากษาที่ 1 ตำรวจที่ปฏิบัติการในปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีการพูดถึงการ ถอนกำลัง และไม่มีการกล่าวถึงว่า หากถอนกำลังต้องถอนไปที่ใด พูดเพียงปราสาทและบริเวณใกล้เคียง ไม่มีการกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอน พูดเพียงว่าเจ้าหน้าที่ที่เฝ้ารักษาการหรือดูแล ศาลจึงเห็นว่า จะต้องเริ่มจากดูหลักฐานที่อยู่ต่อหน้าศาล และพยานหลักฐานเดียวคือ พยานหลักฐานที่ฝ่ายไทยได้นำเสนอ ซึ่งได้มีการเยือนไปยังปราสาทในปี 1961 แต่ในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานเชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายาม 1 คน และตำรวจ มีการตั้งแคมป์ และไม่ไกลมีบ้านพักอยู่ และทนายฝ่ายไทย กล่าวว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1

        ต่อมาปี 1962 กัมพูชาได้เสนอข้อต่อสู้ว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน แต่ศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่า สำคัญ เพราะการแบ่งเส้นต่างๆ มีความใกล้เคียงกันสันปันน้ำ การที่สถานีตำรวจตั้งใกล้สันปันน้ำ เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อศาลสั่งให้ไทยถอนกำลัง ก็น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่างๆ ตามคำเบิกความของไทย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่า มีเจ้าหน้าที่อื่นใด จึงเห็นว่าควรยาวไปถึงสถานที่ตั้งมั่นของสถานีตำรวจ เส้นแบ่งเขตแดนตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่า เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ศาลจึงเห็นว่า ชัดเจนมากตามภูมิศาสตร์ ที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้มีหน้าผาที่ชัน และตะวันตกเฉียงเหนือก็เป็นที่ที่อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้เป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถเข้าถึงปราสาท ดังนั้น การทำความเข้าใจใกล้เคียงพระวิหาร ศาลจึงเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งเขตแดนตามภาคผนวก 1 และไม่ได้ระบุระยะที่ชัดเจน
 หลังจากศาลโลกอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น ปรากฎว่านักวิชาการและสื่อมวลชนไทย ตีความกันออกเป็นหลายแนวทางไม่ตรงกัน บ้างก็ว่า 
-ศาลให้ไทย-กัมพูชา หารือกันเอง มียูเนสโก้เป็นผู้ดูแล กัมพูชายังมีอธิปไตยตามพื้นที่คำตัดสินปี 1962 ส่วนพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ศาลโลกไม่มีการพูดถึง นี้ต้องไปคุยกันเอง 
สรุปศาลไม่ได้ตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาเดิม 2505/ พิพากษาเฉพาะตัวปราสาทไม่แตะพื้นที่ 4.6ตร.กม
-ไม่เสีย 4.6 แต่เสียประมาณ หนึ่งถึงสองตร.กม.รอบปราสาท ไม่เสีย พนมทรัพ หรือภูมะเขือ
- ศาลยึดข้อเท็จจริงเดิมตามคำพิพากษา1962ไม่เอาข้อเท็จจริงใหม่ปน แต่เสียเปรียบที่ครั้งนี้ศาลฟันธงดินแดนที่ปราสาทอยู่เป็นของกัมพูชา
เมื่อเวลา 17.34 น. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ พร้อมด้วย นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะต่อสู้คดีปราสาทเขาพระวิหาร 
แถลงภายหลังศาลโลกได้มีคำพิพากษาในดคีปราสาทเขาพระวิหาร โดย นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ผลคำพิพากษาของศาลโลกในวันนี้ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจของฝ่ายเราในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หน้าที่ในการชี้แจงผลการพิพากษา ตนจะมอบให้
ทูตวีระชัย เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด ด้านทูตวีรชัย กล่าวว่า คำพิพากษาในวันนี้ ที่ออกมาศาลได้ชี้เป็นประเด็นต่างๆ เริ่มจาก ศาลมีอำนาจในการวินิฉัย ในคำร้องของกัมพูชาในครั้งนี้หรือไม่ ต่อมาศาลได้วินิจฉัย พื้นที่ใกล้เคียงกับตัวปราสาท ที่ศาลใช้คำเรียกว่า ตัวปราสาท นั้น จะมีตัวเขตจำกัดอย่างไร แต่ไม่ได้มีแผนที่แนบ เบื้องต้นของเรียนว่า ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้รับในพื้นที่ , 4.5, 4.6 , 4.7 ตารางกิโลเมตร หรืออะไรก็ตาม ทาง กัมพูชาไม่ได้สิ่งที่ได้เรียกร้อง พื้นที่ภูมะเขือฝ่ายกัมพูชา ก็ไม่ได้ ศาลก็ไม่ได้ ชี้ในเรื่องของเขตแดน ศาลไม่ได้ตัดสินในเรื่องของเขตแดน เว้นแต่ พื้นศาลได้พยายามเน้นพื้นที่เล็กอย่างมาก ที่แคบมากๆ ดัง นั้น พื้นที่นี้ยังคำนวณอยู่ และศาลไม่ได้ระบุว่า แผนที่ 1.200,000 เป็นส่วนหนึ่งของคำตัดสินเมื่อปี พ.ศ.2505 ตรงนี้ ตนถือว่า เป็นจุดที่มีความสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ศาลยังแนะนำให้ ทั้งสองฝ่ายมาร่วมกันในการที่จะดูแลตัวปราสาทในฐานะเป็นมรดกโลก ซึ่งศาลแนะนำให้ร่วมมือกัน
 "พื้นที่ที่ต้องพิจารณาให้กัมพูชาเป็นพื้นที่เล็กมาก  อย่างไรก็ตาม ไทยและกัมพูชาจะต้องหารือกันต่อไป"
ประมาณ 19.30 น.วานนี้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม พร้อมด้วยนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และทีมทนายที่ปรึกษาชาวต่างชาติ ได้ประชุมเทเลคอนเฟอเรนซ์มายังทำเนียบรัฐบาล มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศ ช่อง 11 โดยนายวีรชัย กล่าวยืนยันว่า ส่วนใหญ่คำตัดสินเป็นคุณกับประเทศไทย โดยไทยไม่ได้เสียแดนดินพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร โดยเฉพาะภูมะเขือที่ศาลโลกพูดชัดเจนว่า ไม่ใช่พื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ขอให้ประชาชนมั่นใจในเรื่องนี้
"ส่วนพื้นที่ที่ต้องพิจารณาให้กัมพูชาเป็นพื้นที่เล็กมาก หรือใกล้เคียงกับพื้นที่ในมติคณะรัฐมนตรี ปี 2505 อย่างไรก็ตาม การกำหนดพื้นที่ดังกล่าว ผู้ที่กำหนดพื้นที่เป็นคู่กรณีเจรจา ที่จะหารือในกรอบคณะกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือไทย - กัมพูชา (เจซี) กันต่อไป " นายวีรชัย กล่าว
นายวีรชัย กล่าวอีกว่า ส่วนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ขอยืนยันว่า คำตัดสินในครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล เพราะศาลไม่มีอำนาจในการวินิจฉัย หากไปดูในอนุสัญญา ค.ศ.1904 และ1907 ไม่มีทางกระทบทางทะเลได้เลย ขอให้พี่น้องสบายใจได้
สุดท้าย ผมอยากฝากไปถึงคนไทยอย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองเป็นคนชนะ หรือเสียใจว่าตัวเองสูญเสียดินแดน สำหรับคำตัดสินในวันนี้ถือว่าสิ้นสุดลงแล้ว แต่หากมีข้อขัดแย้งสามารถนำคำพิพากษาวันนี้ ขอยื่นตีความได้ภายใน 10 ปี แต่ต้องมีหลักฐานใหม่" นายวีรชัย กล่าวทิ้งท้าย

ใน ฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการต่อสู้คดีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 ได้ขยายความถึงแนวทางการตัดสิน 4 แนวทางตามที่มีการณ์คาดการณ์มาโดยตลอดว่า
แนวทางที่ 1 ศาล อาจจะตัดสินว่าศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดี หรือศาลมีอำนาจ แต่ไม่เหตุที่จะต้องตีความ ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างกลับไปอยู่ในสถานะเดิมก่อนที่จะมีการยื่นฟ้องศาลโลก
ประเด็นนี้เขาให้ความรู้เบื้องต้นว่า ศาลระหว่างประเทศไม่มีคำว่า "ยกฟ้อง" หรือ "จำหน่ายคดี" เหมือนศาลในประเทศที่อาจจะมีการยื่นฟ้องผิดศาล แต่ศาลอาจจะตัดสินว่า ตัวเองไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดี หรือมีอำนาจแต่ไม่มีเหตุที่จะต้องตีความแนวทางการตัดสินแบบนี้อาจทำให้สถานะกลับ ไปเหมือนตอน "ก่อนฟ้อง" คือ ไม่มีคำตอบให้ในเรื่องเขตแดน และแผนที่ โดยสองฝ่ายอาจต้องไปเจรจาตกลงกันเอาเอง
แนวทางที่ 2 ศาล อาจตัดสินว่าขอบเขตพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นไปตามเส้นเขตแดนบนแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งเป็นไปตามคำฟ้องของฝ่ายกัมพูชา หรือใกล้เคียง
ประเด็นนี้ทูตวีรชัยยังยืนยันตามคำพูดเดิมที่เคยให้การต่อศาลว่า มีการ "ปลอมแปลงแผนที่" โดยนำเอาแผนที่หมายเลข 3 และหมายเลข 4 มาซ้อนทับกัน และเติมสีลงไปเอง
ส่วนผลของแนวทางคำตัดสินนี้อาจทำให้เขาได้พื้นที่ประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือใกล้เคียง โดยศาลคงกำหนดบริเวณข้างเคียง ซึ่งก็คือ "เส้นเขตแดน" นั่นเอง
แนวทางที่ 3 ศาลอาจตัดสินเป็นไปตามคำร้องของฝ่ายไทย หมายถึงขอบเขตปราสาทพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีไทย เมื่อ พ.ศ.2505
ประเด็นนี้ยึดตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2505 ของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับที่กัมพูชาขอไปในคดีเก่า โดยทั้งสองฝ่ายโต้แย้งกันเรื่อง "แผนที่" และ "สันปันน้ำ"

แนวทางนี้ ถ้าใกล้เคียงกับที่กัมพูชาขอ (เมื่อปี 2505) อาจมีพื้นที่ที่ขาดไป (ต้องคืนให้กัมพูชา) ประมาณ 0.07 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43 ไร่ (ตามแนวพื้นที่เดิม) แต่วันนี้กัมพูชาไม่ได้ขอพื้นที่เดิม แต่ขอพื้นที่ 4.5-4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน
แนวทางที่ 4 คือ ศาลอาจไม่ตัดสินให้เป็นไปตามคำร้องทั้งของไทยและกัมพูชา โดยอาจจะกำหนดขอบเขตพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร
ประเด็นนี้น่าจะออกไปในแนว "นามธรรม" คือ ตัดสินออกมากลางๆ หรืออาจจะตัดสินว่า คำพิพากษาปี 2505 หมายความว่าอย่างไร และให้คู่กรณีไปปรึกษาหารือกัน ซึ่งแนวทางนี้อาจเป็นประโยชน์กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างยิ่ง โดยอาจตัดสินว่า แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน แยกออกจากกัน หรือมีผลผูกพันกับคำพิพากษาปี 2505 หรือไม่ เป็นต้น
(ทูตวีรชัยวิเคราะห์ว่า แนวทางที่ 1 เป็นไปได้น้อยที่สุด ส่วนแนวทางที่ 2 มีความเป็นไปได้มากกว่าแนวทางที่ 1 นิดหน่อย) อย่างไรก็ตาม คณะทำงานฝ่ายไทยเห็นว่า แนวทางที่ 4 โดยให้ทั้งสองฝ่ายไปปรึกษาหารือกันมีความเป็นไปได้มากที่สุด แต่ก็มีความเป็นไปได้ในแนวทางอื่นเช่นกัน เพราะคำพิพากษาของศาลมีความยืดหยุ่น และคาดเดาได้ยากมากทูตวีรชัยยังกล่าวถึงกรณีที่มีความพยายาม ชี้ให้เห็นว่า ไทยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกก็ได้ โดยชี้ว่า เท่าที่ติดตามมายังไม่เคยพบข้อมูลดังกล่าว และพยายามสืบค้นอยู่ อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาของศาลโลกไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลา ซึ่งบางประเทศอาจใช้เวลานานมากในการปฏิบัติตาม แต่สุดท้ายก็ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกทุกราย

วันแม่แห่งชาติ

12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ
ความหมายของคำว่า "แม่"
 แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
        - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
        - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
        - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
        - เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
        - ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
ดอกไม้ที่ใช้แทนสัญลักษณ์ในวันแม่คือ ดอกมะลิซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย 

                                              สุขสันต์...วันแม่
               มะลิหอม น้อมวาง บนห้าตัก
        กรุ่นกลิ่น "ร้ก" บริสุทธิ์ ผุดผ่องใส
แทบทุกถ้อย ทุกคำ ร้อยจากใจ
              เป็นมาลัย "กราบแม่" พร้อม น้อมบูชา
 
       To Mom with Love
              นานมาแล้ว ยังมี ใครคนหนึ่ง                       รักลึกซึ้ง ห่วงใย ไม่จางหาย
    รักไม่เลิก รักไม่หมด จากหัวใจ                     รักกว่าใคร รักสุดใจ ของใครกัน
               ยามแบเบาะ อดนอน ทนกล่อมเกลี้ยง            กล่อมให้นอน ด้วยเสียง ดุจสวรรค์
     ทั้งอึฉี่ รดที่นอน เช็ดทุกวัน                           ด้วยมือท่าน อัศจรรย์ มือมารดา
            หนูโตขึ้น เอาใจยาก ไม่อยากบ่น                   เข็นหนูจน ไปโรงเรียน เพียรศึกษา
พร่ำสอนให้ เอาใจใส่ ท่องตำรา                    เมื่อเติบใหญ่ วันหน้า จักได้ดี
จนจบการ ศึกษา ปริญญาบัตร                      แม่ก็จัด รถให้ขับ สมศักดิ์ศรี
          อยากเรียนต่อ เอ้า! ก็ได้ เพิ่มดีกรี                  บินลัดลี่ สู่เมืองนอก โก้หยอกใคร
         ไม่รู้หรอก เงินที่ใช้ แม่เหนื่อยนัก                   ไม่รู้หรอก มือฟูมฟัก จนเติบใหญ่
         ไม่รู้หรอก แม่อดทน กว่าผู้ใด                       ไม่รู้หรอก เพื่อลูกไซร้ แม่ตายแทน
         กว่าจะรู้ ว่าพระคุณ นั้นยิ่งใหญ่                      กว่าจะเห็น ในหัวใจ ยากสุดแสน
         กว่าจะซึ้ง กว่ารู้สึก อยากตอบแทน                 กว่าเห็นค่า ว่าอ้อมแขน แม่สุดดี

  รำลึกพระคุณแม่ 
 "แม่"...เปรียบเป็น เช่นผู้ให้ ชีวิตลูก
 เฝ้าพันผูก ลูกแต่เล็ก ไร้เดียงสา
"แม่"...คือผู้ สรรค์สร้างสิ่ง เพื่อลูกยา
โน้มนำพา สิ่งดีงาม ตามดูแล
"แม่"...เป็นผู้ ประเสริฐนัก ประจักษ์ยิ่ง
หามีสิ่ง ใดเปรียบ เสมอแข
"แม่"...ฉันนั้น เทิดทูนยิ่ง เหนือดวงแด
รักแน่แท้ รักแม่นั้น นิรันดร์กาล
"ลูก"...สำนึก บุญคุณ การุณยิ่ง
ทุกทุกสิ่ง เกินจำนรรจ์ เกินกล่าวขาน
"ลูก"...เรียนรู้ จากครูแม่ แต่บริบาล
เมื่อวันวาน ลูกยังจำ มิลืมเลือน
"ลูก"...ขอมอบ ดอกมะลิ กราบตักแม่
ขอดูแล ให้แม่สุข หาใครเหมือน
"ลูก"...ก้มกราบ ด้วยจิต อย่าบิดเบือน
วันปีเคลื่อน ขอแม่สุข ทุกข์คลาดคลา
" รักแม่ "

นายกมาเลเซีย

          การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย       

       การเลือกตั้งทั่วไปรอบล่าสุดของมาเลเซียที่จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2013 ที่ผ่านมาเกิดขึ้นหลังการประกาศของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัคเพื่อให้มีการยุบสภาอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน โดยการเลือกตั้งคราวนี้จะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงสมาชิกสภาท้องถิ่นของรัฐต่างๆ จำนวน 12 รัฐจากทั้งหมด 13 รัฐทั่วประเทศ (ยกเว้นรัฐซาราวัค)
         ผลการเลือกตั้งที่ออกมาว่าพรรคการเมือง 13 พรรคที่เป็นพันธมิตรฝ่ายรัฐบาล ที่เรียกตัวเอง บาริซัน เนชันแนล” (บีเอ็น) ที่มีพรรค “United Malays National Organisation” หรือพรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ (อัมโน) ของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัคเป็นแกนนำยังคงสามารถคว้าชัยชนะมาครองได้อีกครั้ง ด้วยจำนวนที่นั่งในสภา 133 ที่นั่ง แม้จะลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อน 7 ที่นั่ง ขณะที่พรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรคในนาม ปากาตัน รักยัตภายใต้การนำของนายอันวาร์ อิบราฮิมคว้ามาได้ 89 ที่นั่ง เพิ่มขึ้น 7 ที่นั่งจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว
       อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวร่วมฝ่ายค้านภายใต้การนำของนายอันวาร์ กลับเป็นฝ่ายที่ได้รับคะแนน ป็อปปูลาร์ โหวตจากประชาชนสูงกว่าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่ราว 5.6 ล้านเสียง ต่อ 5.2 ล้านเสียง ขณะที่จำนวนผู้ที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศอยู่ที่ระดับ 84.84 เปอร์เซ็นต์
       หลังมีการประกาศผลการเลือกตั้งเพียง 1 วัน นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ได้เข้าทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียเมื่อวันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคมเพื่อเข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศสมัยที่ 2 แม้การเลือกตั้งทั่วไปที่เพิ่งจบสิ้นลง จะถูกฝ่ายค้านประณามว่าเต็มไปด้วยการทุจริต
       อันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำของพันธมิตรฝ่ายค้าน ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันชุมนุมประท้วงการโกงเลือกตั้งที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มาเลเซียในวันพุธที่ 8 พฤษภาคม ณ สนามกีฬาแห่งหนึ่งนอกกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยย้ำว่ารัฐบาลของนาจิบ ราซัคได้สูญสิ้นความชอบธรรมในการปกครองบ้านเมือง และอันวาร์ยังขนานนามการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าเป็นการก่ออาชญากรรมต่อชาวมาเลเซีย
       บรรดาผู้สนับสนุนแนวร่วมฝ่ายค้านต่างแสดงออกถึงความรู้สึกผิดหวังและ ขมขื่นกับผลการเลือกตั้งที่ออกมา เนื่องจากพวกเขาคาดหมายไว้สูงว่าการเลือกตั้งคราวนี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยน แปลงครั้งประวัติศาสตร์ในประเทศแต่ผลลัพธ์คือ พวกเขาได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้วในปี 2008 เพียง 7 ที่นั่งเท่านั้น
       ขณะที่ในการเลือกตั้งคราวนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงมากมายร้องเรียนว่า มาตรการสำคัญประการหนึ่งซึ่งทางการมาเลเซียระบุว่าเป็นเครื่องรับประกันว่า จะไม่มีการโกงการเลือกตั้ง อันได้แก่การให้ผู้ที่ใช้สิทธิแล้วพิมพ์นิ้วมือด้วย หมึกที่ไม่สามารถลบได้เพื่อป้องกันการเวียนเทียนลงคะแนนนั้น แท้จริงแล้วหมึกดังกล่าวสามารถใช้นิ้วลบออกอย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีคลิปวิดีโอ ภาพถ่าย และข้อมูลจากผู้เห็นเหตุการณ์จำนวนมาก ที่ยืนยันผ่านโลกออนไลน์ว่า พบ ผู้มีสิทธิออกเสียงชาวต่างชาติในคูหาเลือกตั้ง ซึ่งตรงกับที่อันวาร์ เคยกล่าวหาก่อนวันเลือกตั้งไม่นานว่ารัฐบาลขน ผู้ต้องสงสัยหลายหมื่นคนซึ่งอาจเป็นชาวต่างชาติไปยังเขตเลือกตั้งหลายแห่งทั่วประเทศ
       อันวาร์วัย 65 ปีซึ่งเคยมีตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียใน ระหว่างปี 1993-1998 และถูกวางตัวเป็น ทายาททางการเมืองของ มหาเธร์ โมฮัมหมัด กล่าวต่อกลุ่มผู้สนับสนุนที่เข้าร่วมชุมนุมเมื่อคืนวันพุธ (8) สนามกีฬาแห่งหนึ่งนอกกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยยืนยันจะเดินหน้าคัดค้านผลการเลือกตั้งใน 30 เขต ที่ผู้สมัครของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ปากาตัน รักยัตทั้ง 3 พรรค ประสบความพ่ายแพ้ต่อผู้สมัครของฝ่ายรัฐบาลแบบน่ากังขา โดยเขามั่นใจว่าการต่อสู้ตามแนวทางนี้มากพอที่จะก่อให้เกิดการพลิกผันของผล การเลือกตั้งได้
          ขณะที่จำนวนของผู้ออกมาชุมนุมตามการเชิญชวนของอันวาร์นั้น รอฟิซี รัมลี ผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์ของพรรคพีเพิลส์ จัสทิซของนายอันวาร์ระบุว่ามีผู้เดินทางมาร่วมชุมนุมสูงถึงราว 80,000 คน ทั้งที่มีฝนตกหนักและมีคำขู่จากทางการมาเลเซียว่าจะจับกุมผู้ที่เข้าร่วมการ ชุมนุมของฝ่ายค้าน ขณะที่ข้อมูลของตำรวจเผยว่าผู้เข้าร่วมการชุมนุมของฝ่ายค้านมีจำนวนประมาณ 60,000 คน
       ด้านคณะกรรมการการเลือกตั้งมาเลเซียเผย ผู้สมัครที่ข้องใจในผลการเลือกตั้งมีเวลา 21 วันในการยื่นเรื่องร้องเรียน และหากมีการตรวจสอบพบการทุจริตจริงตามข้อร้องเรียน ผู้พิพากษาก็จะออกคำสั่งให้มีการเลือกตั้งซ่อมในเขตที่พบปัญหา
       เมื่อถึงตอนนี้ คงไม่ผิดนักหากจะสรุปว่า แม้การเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซียที่เกิดขึ้นในคูหา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคมจะจบสิ้นลงไปแล้ว แต่ การเมืองนอกคูหาของมาเลเซียดูจะจะยังคงดำเนินต่อไป ตราบใดที่รัฐบาลของนาจิบ ราซัคยังไม่อาจยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเองได้ว่าได้รับชัยชนะมาอย่าง ขาวสะอาด โดยมีความเป็นไปได้ที่อาจได้เห็นการประท้วงตามท้องถนนที่ยืดเยื้อจากฝ่าย ค้านของอันวาร์ อิบราฮิม และหากเป็นเช่นนั้นก็คงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของมาเลเซียที่มีขนาดใหญ่เป็น อันดับที่ 3 ของกลุ่มอาเซียนและอันดับ 29 ของโลกมิใช่น้อย